ประเภทรถเครน
1.รถเครนบรรทุก( Truck Crane) มีลักษณะที่คล้ายรถบรรทุกมีหลายแบบทั้ง6,10,12ล้อ ติดเครนขนาดใหญ่ไว้ด้านบน(ไม่มีกระบะนะครับ) และมีหลายขนาดเช่นเดียวกัน มีระบบการขับเคลื่อนแบบรถบรรทุกทั่วไป เหมาะสำหรับการขับเคลื่อนบนพื้นถนนเรียบและแข็งแรงเพียงพอ มีโครงสร้างของตัวรถที่ยาว มีล้อเป็นยาง สามารถวิ่งไปไซต์งานต่างๆได้ด้วยตัวเองเหมือนรถบรรทุกทั่วไป
-ข้อดีของรถเครนแบบนี้ คือ รถเครนสามารถวิ่งไปทำงานได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องอาศัยรถเทรลเลอร์หางlow-bedขนส่ง จึงไม่มีค่าเทรลเลอร์ขนส่ง ใช้สะดวกและหาใด้ไม่ยากนัก มีอยู่ในหลายพื้นที่
-ข้อเสียคือ ตัวรถที่ยาวอาจไม่สามารถเลี้ยวเข้าที่คับแคบได้ อีกทั้งต้องวิ่งบนพื้นหรือถนน(คอนกรีตหรือหินบดอัด)ที่ต้องแข็งแรงเพียงพอ ไม่สามารถวิ่งในทางวิ่งที่อ่อนนุ่มหรือลื่นมากได้ เช่น ดินอ่อน เลน(กรณีติดหล่มหรือจม รถพวกนี้จะไม่เข้าทำงาน เนื่องจากระบบส่งกำลังเช่น เกียร์ คลัช อาจพังได้) เพื่อเป็นการประหยัด ควรเช็คพื้นที่ว่าแข็งแรงเพียงพอหรือไม่ มิฉะนั้นท่านอาจจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายไปฟรีๆและยังเสียเวลางานท่านอีกด้วย กรณีหลีกเลี่ยงพื้นอ่อนไม่ได้ ควรหาแผ่นเหล็กหนามาปูพื้นเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของพื้นให้แข็งแรงเพียงพอ ลดเวลาและค่าใช้จ่ายที่อาจบานปลาย หรืออาจเลือกใช้รถเครนในประเภทที่เหมาะสมกว่า เช่น รถเครนตีนตะขาบ รถเครน4ล้อ ฯลฯ
2.รถเครนตีนตะขาบ(Crawler Crane) เป็นรถเครนที่เข้าถึงได้แทบทุกสภาพพื้นที่ต่างๆได้ดี แม้ว่าจะเป็นพื้นที่แข็ง อ่อน มีเลน ติดหล่มยาก แต่เดินทางไกลได้แค่100-500 ม.เท่านั้น ไกลกว่านั้นต้องใช้เทรลเลอร์หาง low-bed ขนส่ง
3.รถเครน 4 ล้อ (Rough terrain cranes) มีลักษณะคล้ายกับรถเครนแบบ Truck Crane แต่มีล้อยางเพียง4ล้อ(ใหญ่) รถเครนแบบนี้สามารถปรับเลี้ยวล้อได้ทั้ง4ล้อ ทำให้ซอกแซกเลี้ยวเข้าในที่แคบๆได้ดี เนื่องจากระบบขับเคลื่อนเป็นแบบ4ล้อ จึงสามารถวิ่งบนพื้นดินอ่อนได้บ้าง แต่ไม่สามารถวิ่งดินอ่อนมากหรือดินเลนได้ รถเครน 4 ล้อรุ่นเก่าๆวิ่งไกลไม่ได้(ไม่ควรวิ่งไกลเกิน 10 km.) เพราะจะทำให้ชุดเกียร์พัง การวิ่งขึ้นเขา ลงเขาบ่อยๆ จะทำให้ชุดเกียร์สึกหรอเร็ว เวลาเกียร์พัง มีต้นทุนในการซ่อมไม่ต่ำกว่า2แสนบาทไทย จากข้างต้นทำให้รถเครน 4 ล้อ อาจมีค่าใช้จ่ายเรื่องการขนส่ง ขนย้าย(เกิน10km.) ต้องใช้รถเทรลเลอร์ low-bed ในการขนย้ายเท่านั้น
4.เครนติดรถบรรทุก(Truck Loader Crane หรือ cargo crane) หรือที่ชาวบ้านเรียกรถเฮี๊ยบ คือรถบรรทุกทั่วไปที่มีเครนขนาดเล็กๆติดอยู่ด้านหลัง เครนแบบนี้มีการออกแบบและผลิตให้สามารถติดตั้งบนรถบรรทุกได้ทุกยี่ห้อทุกรุ่น รถเครนแบบนี้สามารถยกของจากท้ายกระบะลงไปจากรถ หรือยกของจากพื้นขึ้นมาใส่กระบะท้ายรถได้ และสามารถวิ่งไปส่งไกลฯได้สะดวก แต่มีข้อจำกัดเรื่องขนาดของเครนไม่สามารถใส่เครนขนาดใหญ่ได้เนื่องจากพื้นที่ติดตั้งมีจำกัด นิยมใส่กันแค่เพียง1-5 ตันเท่่านั้น อาจจะมีขนาด 8-10 ตันบ้างแต่ก็ยังหายากอยู่
5.รถเครนแบบ All Terrain Cranes เป็นรถเครนที่มีขนาดใหญ่มากมีล้อจำนวนมาก เช่น 100-300 ตันขึ้นไป สามารถเคลื่อนที่ไปได้เกือบทุกสภาพพื้นที่ ในประเทศไทยมีอยู่จำนวนน้อยมากอาจไม่ถึง0.5% ของจำนวนรถเครนทั้งหมด
*** หมายเหตุ : “สหชลเครน” มีบริการให้เช่าเฉพาะ ประเภทที่ 1 ,4 และ 5 เท่านั้น ****